h1.post-title{ font-size:20px;}

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

หลักการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

หลักการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีเงื่อนไขใดบ้างลองทำความเข้าใจกันดูครับ
ขอนำประเด็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามาทบทวนทำความเข้าใจใหม่ทั้งหมดในรูปแบบปุจฉา - วิสัชนา โดยจะไล่เรียงเป็นลำดับไปตั้งแต่หลักการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และวิธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้ครับ
ปุจฉา หลักการทั่วไปเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากำหนดไว้อย่างไร
วิสัชนา มีหลักการทั่วไปในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาดังต่อไปนี้
      1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีที่จัดเก็บจากฐานรายได้ของผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดาและหน่วยทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยจัดเก็บจากเงินได้พึงประเมินทุกประเภท เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดยกเว้นไว้เป็นกรณีพิเศษ โดยแบ่งที่มาของเงินได้ออกเป็น 3 กรณีคือ 1. เงินได้เนื่องจากหน้าที่งานที่ทำ 2. เงินได้เนื่องจากกิจการที่ทำ และ 3. เงินได้เนื่องจากทรัพย์สิน
      2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นภาษีที่จัดเก็บจากฐานเงินได้พึงประเมิน ทั้งจากแหล่งเงินได้ในประเทศ และแหล่งเงินได้ในต่างประเทศ โดยนำมาบัญญัติเป็นกฎหมายมาตรา 41 แห่งประมวลรัษฎากร อันถือเป็นหลักการของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
      3. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นภาษีทางตรง (DIRECT TAX) ซึ่งผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องรับ ภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไว้ เองทั้งสิ้น ไม่สามารถผลักภาระภาษีไปยังบุคคลอื่น ดังจะเห็นได้จากการที่กฎหมายบัญญัติให้นำค่าภาษีเงินได้ที่ผู้จ่ายเงินหรือ ผู้อื่นออกแทนให้มารวมเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามบทบัญญัติมาตรา 39 มาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งกรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติไว้ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.7/2528 นอกจากนี้ ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรตามมาตรา 43 มาตรา 44 มาตรา 45 และมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบมาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 และมาตรา 8 และมาตรา 8 ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 ยังกำหนดห้ามมิให้นำค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณเงินได้สุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อันเป็นผลเนื่องมาจากการเป็นภาษีทางตรงนั่นเอง
      4. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีอากรประเมินตามบทบัญญัติมาตรา 14 ประกอบมาตรา 38 แห่งประมวลรัษฎากร
       ภาษีอากรประเมิน หมายถึง ภาษีอากรประเภทที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ต้องเสียภาษีหรือผู้นำส่งภาษีมีหน้าที่ ยื่นรายการประเมินตนเอง ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด เพื่อแสดงว่ามีรายได้หรือรายรับที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีเป็นจำนวนเท่าใด คิดเป็นจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งเท่าใด และให้เจ้าพนักงานมีอำนาจประเมินเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการประเมินความถูก ต้องของจำนวนภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่ง และการปฏิบัติหน้าที่ทางภาษีอากรของต้องเสียภาษีหรือผู้นำส่งภาษี เพื่ออำนวยให้เกิดความเป็นธรรมในการเสียภาษีอากร
      5. โครงสร้างของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
          5.1 หลักการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นไปตามมาตรา 41 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแบ่งเป็น หลักแหล่งเงินได้ (SOURCE RULE) สำหรับแหล่งเงินได้ในประเทศไทย และหลักถิ่นที่อยู่ (RESIDENT RULE) สำหรับแหล่งเงินได้ในต่างประเทศ
          5.2 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นไปตามมาตรา 56 มาตรา 57 มาตรา 57 ทวิ มาตรา 57 ตรี มาตรา 57 เบญจ มาตรา 60 มาตรา 62 ประกอบมาตรา 6 แห่งประมวลรัษฎากร
          5.3 ฐานภาษี อัตราภาษี และวิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นไปตามมาตรา 48 ประกอบมาตรา 39 มาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร
           5.4 วิธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 49 มาตรา 50 มาตรา 52 ทวิ 56 มาตรา 56 ทวิ มาตรา 58 มาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบมาตรา 17 และบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการเกี่ยวแก่ภาษีอากรประเมินในหมวด 2 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร
           5.5 การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกฎกระทรวง (ฉบับที่ 126) และพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร รวมทั้งกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
           5.6 การขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 63 (เฉพาะภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย) และมาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากร
           5.7 หน้าที่อื่นทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 17 แห่งประมวลรัษฎากร เช่น การจัดทำบัญชีเงินสดรับ - จ่าย การแจ้งรายการ
           5.8 การอุทธรณ์ ตามมาตรา 28 ถึงมาตรา 34 แห่งประมวลรัษฎากร
          5.9 บทกำหนดโทษ (ทางอาญา) ตามมาตรา 35 ถึงมาตรา 37 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
      6. หน่วยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาถือเป็นหน่วยภาษีย่อยที่สุด ดังนั้น เมื่อเงินได้ใดๆ ที่ได้ผ่านการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว ผู้ที่ได้รับส่วนแบ่งจากเงินได้ที่ได้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว จะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีก อาทิเช่น ส่วนแบ่งของกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือเงินได้จากกองมรดกที่ผ่านการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือเงินได้จากการให้โดยเสน่หา หรือเงินได้จากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเช่นกัน 

      7. หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง ตามมาตรา 5 ประกอบมาตรา 4 แห่งประมวลรัษฎากร


โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

1 ความคิดเห็น:

  1. สวัสดีทุกคน ขอบคุณมากสำหรับการแนะนำบริษัทเงินกู้ Paco ฉันติดต่อเขาเพราะว่าฉันมีคะแนนเครดิตแย่ 490 และเขาก็ซ่อมมันในระยะเวลาอันสั้นด้วยอัตราที่เหมาะสมในช่วงเวลาที่แย่ที่สุดของฉัน ในที่สุดฉันก็ได้เงินกู้ 25,000 เหรียญแล้ว ฉันมีความสุขมากและขอบคุณสำหรับสิ่งที่ บริษัท เงินกู้ Paco ทำเพื่อฉัน...คุณอับอายทางการเงินหรือไม่ที่คุณไม่สามารถชำระหนี้และตั๋วเงินของคุณ คุณคิดว่าจะได้รับความช่วยเหลือทางการเงินหรือไม่? อย่าเพิ่งรีบตอนนี้และคว้าสินเชื่อที่มีหลักประกันและค้ำประกันของคุณวันนี้ ติดต่อ Paco ทางอีเมล: pacoloancompany@gmail.com หรือ Whats-app เขาที่ +18172866412 หรือทางเว็บไซต์: https://pacoloancompany.wixsite.com/my-site-1

    ตอบลบ