h1.post-title{ font-size:20px;}

วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (1)

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประกอบด้วยผู้มีเงินได้ ที่เป็นบุคคลธรรมดารวมทั้งผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษีและกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง
ขอนำประเด็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งประกอบด้วยผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดา รวมทั้งผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี และกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง นอกจากนี้ยังหมายความรวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มีใช่นิติบุคคล ที่มีเงินได้ด้วย โดยอาจแยกพิจารณาผู้มีหน้าที่เสียภาษีและผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการมา ปุจฉา - วิสัชนา ดังนี้
ปุจฉา มีรายละเอียดเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดาประกอบอย่างไร
วิสัชนา ผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดา หมายถึง ผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดาที่มีสภาพบุคคลหรือมีชีวิตอยู่ตราบจนถึงสิ้น ปีภาษี หรือวันที่ 31 ธันวาคมของแต่ละปีภาษีนั้นๆ ประกอบด้วย
      1. ผู้มีเงินได้เป็นผู้มีความสามารถ หรือผู้ที่บรรลุนิติภาวะ) ให้ผู้มีเงินได้ยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้โดยตนเอง (มาตรา 56 วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร)
      2. กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้มีคู่สมรสโดยสามีหรือภริยาเป็นผู้มีเงินได้ แต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ว่าความเป็นสามีภริยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีนั้นหรือ ไม่  ให้สามีหรือภริยาฝ่ายที่มีเงินได้นั้นเป็นผู้มีหน้าที่ยื่นรายการและเสีย ภาษีเงินได้โดยตนเอง (มาตรา 56 วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร)
      3. กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้มีคู่สมรส และต่างฝ่ายต่างมีเงินได้
 (1) ในกรณีความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี เช่น สมรส หย่า ตายจากกัน หรือเป็นผู้สาบสูญในระหว่างปีภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้จากเงินได้เฉพาะใน ส่วนของตน (มาตรา 56 วรรคแรก ประกอบมาตรา 57 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร)
(2) ในกรณีความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี  (หรือสามี และภริยาอยู่รวมกันตลอดปีภาษี ทั้งนี้ ไม่ว่าสามีภริยาจะอยู่ต่างท้องที่กัน หรือต่างคนต่างอยู่เป็นครั้งคราว  ก็ยังคงถือว่าอยู่ร่วมกัน) ให้ถือว่าเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี  และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ อย่างไรก็ตาม ในการจัดเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยาในกรณีดังกล่าว ถ้ามีภาษีค้างชำระและฝ่ายภริยาได้รับแจ้งการประเมิน ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันแล้วให้ภริยาร่วมรับผิดในการเสียภาษีที่ค้างชำระนั้นด้วย
ในการนี้ถ้าสามีหรือภริยามีความประสงค์จะยื่นรายการแยกกัน ก็ให้ทำได้โดยแจ้งให้เจ้าพนักงานประเมินทราบภายในเวลาซึ่งกำหนดให้ยื่น รายการ แต่การแยกกันยื่นรายการนั้น ต้องไม่ทำให้ภาษีที่ต้องเสียเปลี่ยนแปลงไปจากการที่ สามีได้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยามาถือรวมเป็นเงินได้ของตนเองและยื่น รายการแต่เพียงฝ่ายเดียวดังกล่าวข้างต้น
อนึ่ง ในบางกรณี เช่น สามีและภริยาดังกล่าวได้หย่ากันในปีภาษีต่อๆ มาและเจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจสอบพบว่ามีเงินภาษีที่ต้องเรียกเก็บเพิ่ม เติมจากเงินได้ของสามีและภริยาดังกล่าว  เจ้าพนักงานประเมินอาจเห็นสมควรแบ่งภาษีออกตามส่วนของเงินได้พึงประเมินที่ สามีและภรรยาแต่ละฝ่ายได้รับ แล้วแจ้งให้สามีและภริยาเสียภาษีเป็นคนละส่วนก็ได้ แต่ถ้าภาษีของฝ่ายใดค้างชำระและอีกฝ่ายหนึ่งได้รับแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันแล้ว ให้อีกฝ่ายหนึ่งนั้นร่วมรับผิดในการเสียภาษีที่ต้องชำระนั้นด้วย (มาตรา 57 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร)
อย่างไรก็ตาม ถ้าภริยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) ไม่ว่าจะมีเงินได้พึงประเมินประเภทอื่นด้วยหรือไม่  ภริยาจะแยกยื่นรายการ และเสียภาษีเงินได้ต่างหากจากสามีเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (1) โดยมิให้ถือว่าเป็นเงินได้ของสามีตามมาตรา 57 ตรี ก็ได้ (มาตรา 57 เบญจ วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร)
      4. กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้เยาว์ ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้มีหน้าที่ยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้แทนผู้ เยาว์ (มาตรา 57 และมาตรา 62 แห่งประมวลรัษฎากร) เว้นแต่ในกรณีที่บุตรผู้เยาว์ ไม่ว่าจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมก็ตาม เป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร - เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร เพื่อประโยชน์ในการคำนวณเงินได้  ให้ถือว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็น เงินได้ของบิดาหรือมารดาแล้วแต่กรณี (มาตรา 40 (4)(ข) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร)
           อย่างไรก็ตาม ในปีที่บุตรผู้เยาว์ดังกล่าวเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ  และได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร ทั้งนี้ ไม่ว่าจะได้รับเงินปันผล หรือเงินส่วนแบ่งของกำไรก่อนหรือตั้งแต่วันที่บรรลุนิติภาวะก็ตาม เงินได้ดังกล่าวให้ยังคงถือเป็นเงินได้ของบุตรผู้มีเงินได้นั้น เช่นเดียวกับเงินได้ประเภทอื่นๆ และสำหรับการยื่นรายการ และการเสียภาษีเงินได้ ตั้งแต่ปีภาษีที่บรรลุนิติภาวะเป็นต้นไป ให้เป็นหน้าที่ของผู้บรรลุนิติภาวะนั้นตามหลักการในข้อ 1. ข้างต้น
      5. กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ให้ผู้อนุบาลเป็นผู้มีหน้าที่ยื่นรายการ และเสียภาษีเงินได้แทนผู้มีเงินได้ดังกล่าว (มาตรา 57 และมาตรา 62 แห่งประมวลรัษฎากร)
      6. กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ให้ผู้พิทักษ์เป็นผู้มีหน้าที่ยื่นรายการ และเสียภาษีเงินได้แทนผู้มีเงินได้ดังกล่าว (มาตรา 57 และมาตรา 62 แห่งประมวลรัษฎากร)
      7. กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในต่างประเทศ ให้ผู้จัดการกิจการอันก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมินเป็นผู้มีหน้าที่ยื่น รายการ และเสียภาษีเงินได้แทนผู้มีเงินได้ดังกล่าว (มาตรา 57 แห่งประมวลรัษฎากร)
      8. กรณีผู้มีเงินได้เป็นบุคคลที่ตั้งตัวแทนจัดการทรัพย์สิน  หรือผู้รับประโยชน์จากทรัสต์ ให้ตัวแทนหรือทรัสต์เป็นผู้มีหน้าที่ยื่นรายการ และเสียภาษีเงินได้แทนผู้มีเงินได้ดังกล่าว (มาตรา 62 แห่งประมวลรัษฎากร)
      9. กรณีผู้มีเงินได้ดังกล่าวข้างต้นซึ่งมีชีวิตอยู่ตลอดปีภาษี  แต่ได้ถึงแก่ความตายก่อนที่จะได้มีการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ ให้ผู้จัดการมรดก หรือทายาทหรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแล้วแต่กรณีเป็นผู้มีหน้าที่ยื่นรายการ และเสียภาษีเงินได้แทนผู้มีเงินได้ดังกล่าว (มาตรา 57 ทวิและมาตรา 62 แห่งประมวลรัษฎากร)

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

1 ความคิดเห็น:

  1. สวัสดีทุกคน ขอบคุณมากสำหรับการแนะนำบริษัทเงินกู้ Paco ฉันติดต่อเขาเพราะว่าฉันมีคะแนนเครดิตแย่ 490 และเขาก็ซ่อมมันในระยะเวลาอันสั้นด้วยอัตราที่เหมาะสมในช่วงเวลาที่แย่ที่สุดของฉัน ในที่สุดฉันก็ได้เงินกู้ 25,000 เหรียญแล้ว ฉันมีความสุขมากและขอบคุณสำหรับสิ่งที่ บริษัท เงินกู้ Paco ทำเพื่อฉัน...คุณอับอายทางการเงินหรือไม่ที่คุณไม่สามารถชำระหนี้และตั๋วเงินของคุณ คุณคิดว่าจะได้รับความช่วยเหลือทางการเงินหรือไม่? อย่าเพิ่งรีบตอนนี้และคว้าสินเชื่อที่มีหลักประกันและค้ำประกันของคุณวันนี้ ติดต่อ Paco ทางอีเมล: pacoloancompany@gmail.com หรือ Whats-app เขาที่ +18172866412 หรือทางเว็บไซต์: https://pacoloancompany.wixsite.com/my-site-1

    ตอบลบ