h1.post-title{ font-size:20px;}

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริจาค-ภัยพิบัติ(3)

การยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ (3)
ขอนำประเด็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเงินได้ ทรัพย์สิน หรือสินค้าที่บริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่น ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป โดยมีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น เป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าที่บริจาค เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยนั้น ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2554 นำมาปุจฉา - วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อน ดังต่อไปนี้


ปุจฉา ช่วยสรุปหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่นที่เกิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป ซึ่งบริจาคผ่านบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่เป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้า ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มอีกครั้งหนึ่งด้วย

วิสัชนา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่เป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าดังกล่าวต้องเป็นดังต่อไปนี้
1. การเป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าดังกล่าว ต้องดำเนินการในลักษณะเป็นสื่อกลางอย่างเปิดเผยเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่นอย่างแท้จริง

2. กรณีตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้า ที่ดำเนินการในลักษณะเป็นสื่อกลางดังกล่าวมิใช่ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล หรือองค์การหรือสถานสาธารณกุศลตามมาตรา 47 (7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และได้ร่วมกันเป็นตัวแทนรับเงินทรัพย์สิน หรือสินค้าที่บริจาค และผู้ที่ทำหน้าที่ออกหลักฐานการรับบริจาค หรือผู้ที่ดำเนินการเปิดบัญชีเงินฝากธนาคารเพื่อรับบริจาค ให้แจ้งชื่อต่ออธิบดีกรมสรรพากร (ผ่านผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการกำกับและตรวจสอบภาษี หรือสรรพากรพื้นที่) แสดงว่าเป็นผู้ทำหน้าที่ดำเนินการในลักษณะเป็นสื่อกลางในการเป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าดังกล่าว โดยให้แจ้งตามแบบคำขอแจ้งเป็นตัวแทนรับบริจาคที่มีข้อความอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศอธิบดีกรมสรรพากรทุกครั้งก่อนรับบริจาคหรือภายหลังรับบริจาค โดยต้องแจ้งในระหว่างการเกิดเหตุอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่น หรือแจ้งภายในหนึ่งเดือนนับถัดจากวันที่เหตุอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่นนั้นได้สิ้นสุดลงแล้ว ทั้งนี้ เว้นแต่อธิบดีกรมสรรพากรจะกำหนดเป็นอย่างอื่น

3. ภายหลังจากการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่นหากยังมีเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าเหลืออยู่ ตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้า ที่ได้แจ้งชื่อต่ออธิบดีกรมสรรพากรตาม 2. ต้องส่งมอบเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าดังกล่าวให้แก่ส่วนราชการ หรือองค์การหรือสถานสาธารณกุศลตามมาตรา 47 (7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือนนับถัดจากวันยื่นแบบแจ้งคำขอเป็นตัวแทนรับบริจาค เว้นแต่อธิบดีกรมสรรพากรจะกำหนดเป็นอย่างอื่น

4. ตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้า ที่ได้แจ้งชื่อต่ออธิบดีกรมสรรพากรตาม 3. ต้องจัดส่งเอกสารหลักฐานให้แก่อธิบดีกรมสรรพากร (ผ่านผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการกำกับและตรวจสอบภาษี หรือสรรพากรพื้นที่) ได้แก่ สำเนาบัญชีการรับเงินบริจาคซึ่งต้องแยกออกจากบัญชีการดำเนินงานตามปกติ สำเนาบัญชีแสดงรายการจ่ายค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่น และสำเนารายชื่อผู้บริจาคที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นซึ่งเป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าดังกล่าว ได้ออกหลักฐานการรับบริจาคให้ โดยให้จัดส่งภายในเก้าเดือนนับถัดจากวันยื่นแบบแจ้งคำขอแจ้งเป็นตัวแทนรับบริจาค เว้นแต่อธิบดีกรมสรรพากรจะกำหนดเป็นอย่างอื่น

5. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นซึ่งเป็นตัวแทนในการรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าที่บริจาค ต้องจัดทำหลักฐานการรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้า เพื่อแสดงการรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้า ที่ระบุข้อความที่มีสาระสำคัญว่า เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่น โดยระบุช่วงเวลาที่เกิดอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่นดังกล่าวที่เกิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไปด้วย หรือข้อความอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน


กรณีโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของตัวแทนในการรับบริจาคดังกล่าวได้เปิดบัญชีธนาคารขึ้นเพื่อรับเงินบริจาค ในช่วงระยะเวลาที่เกิดอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่นดังกล่าว ผู้บริจาคต้องมีหลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารดังกล่าวที่พิสูจน์ได้ว่าตนเองเป็นผู้บริจาค

หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่เป็นตัวแทนรับบริจาคเป็นผู้บริจาคด้วย พิสูจน์ให้ได้ว่ามีการบริจาคจริง

กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่บริจาคทรัพย์สินหรือสินค้า ต้องมีหลักฐานการได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือสินค้าที่บริจาค ที่ระบุจำนวนและมูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้าที่บริจาคนั้น เช่น ใบกำกับภาษี ใบรับเงินที่ได้ซื้อทรัพย์สินหรือสินค้ามาบริจาค เป็นต้น หรือหลักฐานอื่นที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นผู้ผลิตสินค้าหรือเป็นผู้ขายสินค้าที่บริจาคที่แสดงต้นทุนสินค้านั้นได้ ซึ่งจะต้องเป็นทรัพย์สินหรือสินค้ารายการเดียวกับที่ตัวแทนในการรับทรัพย์สินหรือสินค้าออกเป็นหลักฐานในการรับบริจาคทรัพย์สินหรือสินค้านั้นให้แก่ผู้บริจาค

โดย : สุเทพ พงษ์พิทักษ์

1 ความคิดเห็น:

  1. สวัสดี!
    คุณต้องการเงินกู้หรือไม่? ฉันเป็นผู้ให้กู้ที่จดทะเบียนและเชื่อถือได้ฉันให้เงินกู้แก่ผู้ที่มีปัญหาทางการเงินคนที่พยายามจะจ่ายค่าเรียนผู้ที่พยายามซื้อรถหรือเริ่มต้นธุรกิจของตัวเองผู้รับเหมาและหน่วยงานของรัฐ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือแบบฟอร์มการขอสินเชื่อติดต่อเราทางอีเมล: (gerred.breinloanlenderr@gmail.com)
    การจัดการ.
    ติดต่อสินเชื่อ Speedy ด่วน !!!

    ตอบลบ