h1.post-title{ font-size:20px;}

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายซ่อมบ้านและรถยนต์ที่ถูกน้ำท่วม

 การใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายซ่อมบ้านและรถยนต์ที่ถูกน้ำท่วม

http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/images/image_news/news16_2555.pdf

เลขที่ข่าว ปชส. 16/2555
วันที่แถลงข่าว 3 กุมภาพันธ์ 2555
เรื่อง การใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายซ่อมบ้านและรถยนต์ที่ถูกน้ำท่วม
..................................................................................................................................................................................................
ตามที่กรมสรรพากรได้ออกมาตรการภาษี เพื่อให้บุคคลที่ได้จ่ายเงินค่าซ่อม ที่อยู่อาศัยและหรือรถยนต์ ที่เสียหายอันเนื่องมาจากเหตุอุทกภัยให้สามารถนำค่าใช้จ่ายดังกล่าว มาหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้ปีภาษี 2554 อย่างไรก็ดี แบบแสดงรายการภาษีเงินได้
บุคคลธรรมดา ปีภาษี 2554 ไม่ปรากฏช่องสำหรับกรอกรายละเอียดของการหักค่าลดหย่อนทั้ง 2 กรณี ทำให้ผู้เสียภาษีที่จะใช้สิทธิดังกล่าวเกิดความสับสน นั้นกรมสรรพากร ขอเรียนว่า ผู้เสียภาษีที่อาศัยอยู่ในท้องที่ ที่ทางราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย และได้จ่ายเงินค่าซ่อมที่อยู่อาศัยและหรือรถยนต์ ในระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2554 ผู้เสียภาษีสามารถนำรายจ่ายค่าซ่อมที่เกิดขึ้นนั้น มาหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้ปีภาษี 2554 ได้ โดยกรณีซ่อมที่อยู่อาศัย หักได้ไม่เกิน100,000 บาท และกรณีซ่อมรถยนต์หักได้ไม่เกิน 30,000 บาท ทั้งนี้ ให้ผู้เสียภาษีกรอกรายละเอียดลงในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 “ข้อ 12. อื่นๆ” ของ “รายการลดหย่อนและยกเว้นหลังจากหักค่าใช้จ่าย”
ตัวอย่าง
• นายสมชาย อาศัยอยู่ในท้องที่ ที่ทางราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ ที่ประสบอุทกภัยโดยในเดือนธันวาคม 2554 ได้จ่ายเงินค่าซ่อมที่อยู่อาศัย จำนวน 100,000 บาท และได้จ่ายค่าซ่อมรถยนต์ จำนวน 30,000 บาท
• ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปีภาษี 2554 ของนายสมชายนั้น ให้นำจำนวนเงินรวม 130,000 บาท มากรอกลงในช่องค่าใช้จ่ายอื่นๆ (ข้อ 12 ของรายการลดหย่อนและยกเว้นหลังจากหักค่าใช้จ่าย)
ดร.สาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “สาเหตุที่แบบแสดงรายการไม่มีช่องสำหรับรายการค่าซ่อมที่อยู่อาศัยและรถยนต์นั้น ก็เนื่องจากว่า แบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ได้จัดทำ แล้ว
เสร็จ ก่อนที่จะมีมาตรการดังกล่าวนี้”
................................................................
กรมสรรพากร เต็มที่ เต็มใจ ให้ประชาชน
ส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหารกลาง กรมสรรพากร

1 ความคิดเห็น:

  1. ค่าลดหย่อนซ่อมแซมบ้านและรถ ต้องแบ่งสิทธิ์ครึ่งหนึ่งเป็นของสามี และภรรยา กรณีแยกยื่นภาษีหรือไม่

    ตอบลบ