h1.post-title{ font-size:20px;}

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ภาษีโรงเรียนกวดวิชา

ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 กำหนดโรงเรียนเอกชนเป็น 2 ระบบ
1. โรงเรียนในระบบหมายความว่า โรงเรียนที่จัดการศึกษาโดยกำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาการศึกษา การจัดและประเมินผลซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน เช่น โรงเรียนอนุบาล โรงเรียนเซนต์ฯต่างๆ โรงเรียนนานาชาติ เป็นต้น
2. โรงเรียนนอกระบบหมายความว่า โรงเรียนที่จัดการศึกษาโดยมีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาการศึกษา การวัดและประเมินผลซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา เช่น โรงเรียนกวดวิชา โรงเรียนสอนภาษา โรงเรียนสอนดนตรี โรงเรียนวิชาชีพ รวมถึงศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาตีกา) และสถาบันศึกษาปอเนาะ
กฎหมายภาษีเงินได้ของโรงเรียนเอกชนที่มีการแก้ไขตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 588-590) และกฎกระทรวง ฉบับที่ 307ซึ่งมีการลงราชกิจจานุเบกษาแล้วมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2558 โดยสรุปสาระสำคัญตามกฎหมายใหม่ได้ดังต่อไปนี้

1) โรงเรียนในระบบ ตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนกำหนดโรงเรียเอกชนในระบบเป็นนิติบุคคล แต่ไม่ได้เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร จึงทำให้โรงเรียนในระบบไม่ต้องมีหน้าที่จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนจะ ต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดิน ส่วนควบของที่ดินรวมทั้งทรัพย์สินที่ต้องใช้ในกิจการโรงเรียน (ซึ่งผู้รับใบอนุญาตเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง) ให้แก่โรงเรียนเอกชนในระบบซึ่งถือว่าเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้รับใบอนุญาต ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินเดิม ดังนั้น จึงมีพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 590) พ.ศ. 2558 กำหนดยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์สำหรับการโอนทรัพย์สินดังกล่าวและกฎหมายยังได้ ยกเว้นภาษีตามประมวลรัษฎากรให้สำหรับเมื่อโรงเรียนเอกชนในระบบการเลิกกิจการ และมีการโอนทรัพย์สินคืนให้ผู้รับอนุญาตซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินเดิมหรือ ทายาทเจ้าของทรัพย์สินและรวมถึงกรณีมีผู้บริจาคทรัพย์สินต่างให้ให้แก่ โรงเรียนเอกชนในระบบ
2) โรงเรียนเอกชนนอกระบบ ผู้ประกอบกิจการ มีภาระภาษีเงินได้ ดังนี้
► หากประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนนอกระบบที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากมีเงินได้พึงประเมินก่อน 11 กรกฎาคม 2558 จะได้การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามข้อ 2(1) แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 126 แต่ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2558 เงินได้พึงประเมินจากกิจการโรงเรียนเอกชนนอกระบบประเภทกวดวิชาที่ตั้งขึ้น ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนจะต้องมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 307 พ.ศ. 2558 ที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อ 2(1)แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 126
► หากประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนนอกระบบที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคลก่อน 11 กรกฎาคม 2558 จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับที่ 284 (หากประกอบกิจการในนามบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล) และมาตรา 5 นว แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 10) (หากประกอบกิจการในนามมูลนิธิหรือสมาคม)
แต่ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2558 กิจการโรงเรียนเอกชนนอกระบบประเภทกวดวิชาที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วย โรงเรียนเอกชน จะต้องมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับที่ 588 และฉบับที่ 589 พ.ศ.2558 ที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯฉบับที่ 284และมาตรา 5 นว แห่งพระราชกฤษฎีกาฯฉบับที่ 10
ดังนั้นการประกอบการโรงเรียนเอกชนนอกระบบประเภทกวดวิชาตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นไปจะต้องมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้ นิติบุคคล
สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มการประกิจการโรงเรียนเอกชนในระบบและโรงเรียนเอกชน นอกระบบทุกกรณียังได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร

ที่มา facebook.com/taxationdotcom

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น