h1.post-title{ font-size:20px;}

วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2562

บุคคลธรรมดามีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และสามารถออกหนังสือรับรองได้ หรือไม่

บุคคลธรรมดามีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และสามารถออกหนังสือรับรองได้ หรือไม่
บุคคลธรรมดาผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และนำส่งพร้อมทั้งยื่นแบบแสดงรายการตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด และมีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และหรือหลักฐานการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ดังนี้ 1. กรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
บุคคลธรรมดามีหน้าที่หัก ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (1)(2)(3)(5)(6) และมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 แล้วนำส่งตามมาตรา 52 แห่งประมวลรัษฎากร และสามารถออกหนังสือรับรองให้ผู้รับเงินได้ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรได้ ดังนี้ 1.1 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร จากข้อความว่า "ให้บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคลผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินตามวิธีดังต่อไปนี้..." นั้น คำว่า "บุคคล" ครอบคลุมทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น บุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น รวมทั้งรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น จึงเป็นผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร ในส่วนของผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินที่เป็นบุคคลธรรมดา มีหน้าที่คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1)(2)(3)(5) และ (6) แห่งประมวลรัษฎากรดังนี้ (1) สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร (มาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร) (ก) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ที่มิใช่เงินได้พึงประเมินซึ่งเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน น้น ให้คูณเงินได้พึงประเมินที่จ่ายด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย เพื่อให้ได้จำนวนเงินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้หารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น ถ้าการหารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายตามความในวรรคก่อนไม่ลงตัว เหลือเศษเท่าใดให้เพิ่มเงินเท่าจำนวนที่เหลือเศษนั้นรวมเข้ากับเงินภาษีที่จะต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในปีนั้น เพื่อให้ยอดเงินภาษีที่หักรวมทั้งปีเท่าจำนวนภาษีที่จะต้องเสียทั้งปี (ดู คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 96/2543 ประกอบ)
(ข) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ซึ่งได้คำนวณจ่ายจากระยะเวลาที่ทำงาน และได้จ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ให้คำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (5) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น (ดู ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) ประกอบ) (ค) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้ การนำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้จ่ายเงินได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 เฉพาะในเดือนที่มีจำนวนภาษีเงินได้ที่ต้องคำนวณหัก และนำส่ง ไม่ว่าผู้จ่ายเงินได้จะได้หักไว้ ณ ที่จ่ายหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ ตามาตรา 52 ประกอบมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร (2) สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) และ (4) แห่งประมวลรัษฎากร (มาตรา 50 (2) แห่งประมวลรัษฎากร) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) และ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ให้คำนวณหักตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เว้นแต่ (ก) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) และ (4) นอกจากที่ระบุไว้ใน (ข)(ค)(ง) และ (จ) ที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้ (ข) ในกรณีเงินได้พึงประเมินที่ระบุในมาตรา 48 (3)(ก) และ(ค) ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้ (ค) ในกรณีเงินได้พึงประเมินที่ระบุในมาตรา 48 (3)(ข) ให้ถือว่าผู้ออกตั๋วเงิน ผู้ออกตราสารแสดงสิทธิในหนี้ หรือนิติบุคคลผู้โอนตั๋วเงินหรือตราสารดังกล่าว ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามส่วนนี้เป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน และให้เรียกเก็บภาษีเงินได้จากผู้มีเงินได้ ในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้ และให้ถือว่าภาษีที่เรียกเก็บนั้นเป็นภาษีที่หักไว้ (ง) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ก) ที่มิได้ระบุใน (ข) และ (ค) แห่งมาตรานี้ ถ้าผู้จ่ายเงินได้มิใช่เป็นนิติบุคคล และจ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ไม่ต้องหักภาษีตามมาตรานี้ (จ) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4)(ข) ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ (ฉ) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4)(ซ) และ (ฌ) ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้ การนำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้จ่ายเงินได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.2 เฉพาะในเดือนที่มีจำนวนภาษีเงินได้ที่ต้องคำนวณหัก และนำส่ง ไม่ว่าผู้จ่ายเงินได้จะได้หักไว้ ณ ที่จ่ายหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ ตามาตรา 52 ประกอบมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร (3) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) และ (6) แห่งประมวลรัษฎากร ที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้ (มาตรา 50 (3) แห่งประมวลรัษฎากร) การนำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (3) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้จ่ายเงินได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 เฉพาะในเดือนที่มีจำนวนภาษีเงินได้ที่ต้องคำนวณหัก และนำส่ง ไม่ว่าผู้จ่ายเงินได้จะได้หักไว้ ณ ที่จ่ายหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ ตามาตรา 52 ประกอบมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร (4) ผู้จ่ายเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดา ไม่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ตามมาตรา 50 (4) แห่งประวลรัษฎากร เพราะในกรณ๊นี้กฎหมายกำหนดให้ผู้จ่าย เฉพาะที่เป็นรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ซึ่งจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5)(6)(7) หรือ (8) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย (5) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) เฉพาะที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งขายอสังหาริมทรัพย์ ให้คำนวณหักดังต่อไปนี้ (ก) สำหรับอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา ให้คำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากรเป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น (ข) สำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่นนอกจาก (ก) ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากรเป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น (6) ในกรณีการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนให้ถือว่าผู้โอนเป็นผู้จ่ายเงินได้ โดยให้ผู้โอนหักภาษีตามเกณฑ์ใน (5) เว้นแต่กรณีการโอนให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม ให้ผู้โอนหักภาษีไว้ร้อยละ 5 ของเงินได้เฉพาะในส่วนที่เกินยี่สิบล้านบาท” 1.2 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินที่เป็นบุคคลธรรมดา มีหน้าที่คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 ดังนี้ (1) สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นรางวัลในการประกวด การแข่งขัน การชิงโชค หรือการอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน ที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 5.0 (2) สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะ ที่จ่ายให้แก่นักแสดงสาธารณะ (ก) กรณีมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศ หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยคำนวณหักไว้ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา (ดู คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 120/2545 ประกอบ) (ข) กรณีนอกจาก (ก) หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 5.0 คำว่า “นักแสดงสาธารณะ” หมายความว่า นักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุและโทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพหรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใด ๆ (3) สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นการจ่ายเงินได้เพื่อซื้อเพชร พลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุก และอัญมณีที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทำเทียม วัตถุดังกล่าวหรือที่ทำขึ้นใหม่ ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งมิใช่ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลและมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 311) พ.ศ. 2540 หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0 ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับ สำหรับการจ่ายเงินได้เพื่อซื้อเพชร พลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุก และอัญมณีที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทำเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทำขึ้นใหม่ ให้แก่ผู้จ่ายเงินได้ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้า ไปเพื่อการบริโภค โดยไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ ทั้งนี้ สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
2. กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล ........2.1 ภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 69 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้ "มาตรา 69 ตรี ให้บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคลผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) เฉพาะที่จ่ายให้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งขายอสังหาริมทรัพย์ คำนวณหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 แล้วนำส่งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียน และให้นำความในมาตรา 52 วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม ภาษีที่หักไว้และนำส่งตามวรรคหนึ่ง ให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ถูกหักภาษีตามรอบระยะเวลาบัญชีที่หักไว้นั้น" 2.2 ภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย ตามตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินที่เป็นบุคคลธรรมดา มีหน้าที่คำนวณหักภาษีเงินได้นิติบุคคลล ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 ดังนี้ (1) สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (7) หรือ (8) แห่งประมวลรัษฎากร ที่เป็นค่าจ้างทำของให้แก่ผู้รับจ้างซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศประกอบกิจการในประเทศไทย โดยมิได้มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทยหักภาษี ณ ที่จ่ายโดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 5.0 (ดู คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.8/2528 ประกอบ) (2) สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นรางวัลในการประกวด การแข่งขัน การชิงโชค หรือการอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน ที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 5.0 2.3 ภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้ "มาตรา 70 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2)(3) (4) (5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเสียภาษี โดยให้ผู้จ่ายหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามอัตราภาษีเงินได้ สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแล้วนำส่งอำเภอท้องที่พร้อมกับยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินนั้น ทั้งนี้ ให้นำมาตรา 54 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในกรณีที่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ได้รับเงินได้พึงประเมินที่เป็นดอกเบี้ยจากรัฐบาล หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรือ อุตสาหกรรม"

3. ผู้จ่ายเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดามีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
3.1 กรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ผู้จ่ายเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดามีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 62)
3.2 กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล
ผู้จ่ายเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดาสามารถออกหนังสือรับรองให้ผู้รับเงินได้ที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แทนการออกใบเสร็จรับเงินค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ได้
อ.สุเทพ พงษ์พิทักษ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น