h1.post-title{ font-size:20px;}

วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

รายจ่ายซึ่งผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ

หากผู้ประกอบการได้รับ  "บิลเงินสด"  มาประกอบเป็นเอกสารประกอบการลงบัญชี  โดยตามประมวลรัษฎากรจะถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา  65  ตรี แห่งประมวลรัษฎากร  ซึ่งกำหนดไว้ในมาตรา  65  ตรี ( 18 )  ดังนี้

( 18 )  รายจ่ายซึ่งผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ



ดัง นั้น  "บิลเงินสด"  ที่กิจการได้รับมาจากการจ่ายค่าใช้จ่ายออกไปนั้น  ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้รับเงิน  หรือผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการมีตัวตนจริง  ทางบัญชีจะบันทึกบัญชีเป็นค่าใช้จ่าย  แต่ทางภาษีอากรจะต้องนำรายจ่ายนั้นไปปรับปรุงกำไรสุทธิ ( บวกกลับ )  แต่หากกิจการสามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้รับมีตัวตนจริงก็จะถือเป็นรายจ่ายได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร



กรณีศึกษา

กรณีการพิจารณารายจ่ายซึ่งพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ

ในกรณีที่บริษัทมีรายจ่ายที่จ่ายไปเพื่อกิจการของบริษัทและได้รับหลักฐานดังต่อไปนี้ คือ

1.  ใบรับเงิน  มีชื่อ  ที่อยู่  และเลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับเงิน หรือ

2.  บิลเงินสด  มีชื่อ  ที่อยู่ผู้รับเงิน  แต่ไม่มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี  หรือ

3.  บิลเงินสด  มีการประทับตรายางที่อยู่ผู้ขาย หรือมีการเขียนชื่อ  ที่อยู่  และเบอร์โทรศัพท์ของผู้ขาย

รายจ่ายดังกล่าวจะต้องห้ามในการลงรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี ( 18 ) แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่



คำวินิจฉัย

ตาม ข้อเท็จจริงข้างต้นรายจ่ายดังกล่าวมีหลักฐานระบุชื่อที่อยู่ขอ่งผู้รับเงิน  ซึ่งสามารถพิสูจน์ถึงตัวผู้รับได้  รายจ่ายดังกล่าวจึงไม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี ( 18 )  แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด

( หนังสือกรมสรรพากรที่  กค 0802/10093  ลงวันที่  14  มิถุนายน  2537 )



สรุป  เมื่อกิจการจ่ายค่าใช้จ่ายออกไปนั้น  ผู้ขายหรือผู้รับเงินได้ออกหลักฐานเป็น  "บิลเงินสด"   จะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้  ต่อเมื่อจะต้องพิสูจน์ได้ว่าผู้รับเงิน  หรือผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการมีตัวตนจริง  รับเงินจากกิจการจริง  หาก  "บิลเงินสด"  ที่กิจการได้รับได้มีข้อความอย่างน้อยดังต่อไปนี้

1.  ชื่อ-ที่อยู่ของผู้รับเงิน หรือผู้ขาย หรือผู้ให้บริการ

2.  วัน  เดือน  ปีที่ได้รับเงิน

3.  ชื่อ-ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้า  หรือผู้จ่ายเงิน

4.  รายละเอียดของรายการสินค้าหรือบริการที่เกิดขึ้น

5.  ลายเซ็นของผู้รับเงิน




ถ้า  "บิลเงินสด"  ส่วน  "บิลเงินสด"  ไม่มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร  หรือเลขประจำตัวประชาชน  เป็นหน้าที่ที่ผู้ขายหรือผู้รับเงินจะต้องระบุไว้ตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร  หากไม่มีข้อความครบถ้วนตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรถือเป็นความผิดของผู้ออกใบรับ  ไม่ใช่ผู้จ่ายเงิน  แต่ด้านของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการหรือผู้จ่ายเงินนั้น  หากสามารถพิสูจน์ได้ว่า  ผู้รับมีตัวตนจริงและจ่ายจริงย่อมถือเป็นรายจ่ายได้ไม่ต้องห้ามตามประมวล รัษฎากร



แต่อย่างไรก็ดี  "บิลเงินสด"  ที่กิจการได้รับมาประกอบเป็นหลักฐานการจ่ายเงินนั้น  หากมีจำนวนเงินเล็กน้อย  ก็คงไม่มีปัญหามากนักในการบันทึกบัญชี  แต่หาก "บิลเงินสด"  นั้นมีจำนวนเงินค่าใช้จ่ายมาก  หรือจำนวนเงินค่อนข้างสูง  ควรจะซื้อสินค้าหรือบริการกับร้านที่ออกหลักฐานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ ธุรกิจก็คือ  แบบฟอร์มดังกล่าวควรจะพิมพ์มาจากโรงพิมพ์ทั้งฉบับหรืออกด้วยระบบ คอมพิวเตอร์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  "ชื่อ-ที่อยู่ของผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการหรือผู้รับเงิน"   และควรจะมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีหรือเลขบัตรประชาชนปรากฏอยู่ด้วย  จะทำให้ปัญหาของรายจ่ายนั้นสมบูรณ์น่าเชื่อถือยิ่งขึ้น  ในทางปฏิบัติควรหลึกเลี่ยงที่จะซื้อสินค้าหรือรับบริการจากร้านค้าที่ ออกบิลเงินสดในลักษณะนี้  เพราะมักจะมีข้อโต้แย้งจากเจ้าพนักงานสรรพากรและต้องพิสูจน์ให้เชื่อได้ว่า มีการจ่ายจริง



วิธีการที่จะลดข้อโต้แย้งของเจ้าพนักงาน สรรพากร  ควรขอบัตรประจำตัวประชาชน  หรือบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีจากผู้รับเงินมาแนบเป็นหลักฐานด้วยก็จะทำให้ เชื่อได้ว่ามีการจ่ายจริง อีกทั้งหากสามารถจ่ายชำระด้วยเช็คระบุชื่อผู้รับ พร้อมขีดคร่อมเช็ค  ก็จะยิ่งเพิ่มความน่าเชื่อถือ

ข้อระวัง  ไม่ควรนำบัตรประชาชนของผู้อื่นมาแอบอ้าง  เนื่องจากหากเจ้าพนักงานเรียกให้มีการยืนยัน  เจ้าตัวเกิดปฏิเสธว่าไม่เคยทราบเรื่องและไม่ได้รับเงินจริง  ก็จะเป็นปัญหาของทางบริษัทผิดทั้งอาญาในการปลอมแปลงเอกสาร  และต้องบวกกลับรายจ่ายที่พิสูจน์ผู้รับไม่ได้กระทบตัวภาษี  แถมมีภาระเบี้ยปรับเงินเพิ่มอีก

ที่มา avaccount

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น