h1.post-title{ font-size:20px;}

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

การวางแผนภาษีอากรกับหนีภาษี ต่างกันอย่างไร

ความหมายของการวาง แผนภาษีอากร ( Tax Planning) การวางแผนภาษีอากรคือการเตรียมการเพื่อเสียภาษีให้ถูกต้อง ครบถ้วน และประหยัด การทำให้ไม่ ต้องชำระภาษีหรือการทำให้เสียภาษีน้อยที่สุดโดยวิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมาย ก็ถือเป็นการวางแผนภาษีอากรด้วยการวางแผนภาษีอากรต้องกระทำก่อน เริ่มต้นประกอบธุรกิจ และเมื่อจะเลิกประกอบ ธุรกิจก็ต้องมีการวางแผนภาษีอากรด้วย
ความหมายของการ หนีภาษี ( Tax Evasion) การหนีภาษีคือการที่ผู้เสียภาษีใช้วิธีการที่ผิดกฎหมายหรือฉ้อฉลเพื่อที่จะ ทำให้ไม่ต้องเสียภาษีหรือเสียภาษี น้อยลง ซึ่งการกระทำเช่นนี้มีความผิดและต้องได้รับโทษตามกฎหมาย ตัวอย่างของการหนีภาษี เช่น ผู้เสียภาษีไม่กรอกจำนวนเงินได้หรือทรัพย์สินที่จะ ต้องเสียภาษีในแบบแสดงรายการโดยเจตนา หรือกรอกแต่กรอกไม่ตรงต่อความเป็นจริงเพื่อให้เสียภาษีน้อย หรือการตั้งราคาโอน (Transfer Pricing) ก็เป็นการหนีภาษีเช่นเดียวกัน การตั้งราคาโอน หมายถึงการที่บริษัทในเครือของบริษัทข้ามชาติ ( Multinational Firm) ซื้อสินค้าจากบริษัทแม่หรือในบริษัท ในเครือในต่างประเทศในราคาสูงกว่าความเป็นจริง เพื่อทำให้ต้นทุนสูง กำไรของบริษัทในประเทศไทยจะได้ต่ำ ทำให้เสียภาษีน้อยลง หรือการที่บริษัท ในประเทศไทยขายสินค้าให้แก่บริษัทแม่หรือบริษัทในเครือในต่างประเทศในราคา ต่ำกว่าความเป็นจริง กำไรจะได้ต่ำหรือขาดทุน ทำให้เสียภาษีในประเทศ ไทยน้อยหรือไม่ต้องเสียภาษีเลย
ความหมายของการหลบหลีกภาษี ( Tax Avoidance) การหนีภาษีต่างกับการหลบหลีกภาษี การหลบหลีกภาษีคือ การที่ผู้เสียภาษีใช้วิธีการที่ถูกต้องตาม กฎหมายเพื่อทำให้ไม่ต้องเสียภาษีหรือเสียภาษีน้อยลง การใช้ช่องโหว่ของกฎหมายภาษีอากร ( Tax Loopholes) เพื่อทำให้ไม่ต้องเสียภาษี หรือเสียภาษี น้อยลงก็ถือเป็นการหลบหลีกด้วย การหลบหลีกภาษีถือเป็นการกระทำที่ไม่ผิดกฎหมาย ฉะนั้นการหลบหลีกภาษีจึงเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนภาษี ตัวอย่างของการหลบหลีกภาษี เช่น การที่ผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยไม่นำเงินได้ที่ได้รับจากการทำงานหรือ ประกอบธุรกิจในต่างประเทศเข้ามาในปีภาษี เดียวกันกับที่ได้รับเงินได้นั้น แต่นำเข้ามาในปีภาษีอื่น ทำให้ ไม่ต้องเสียภาษี ก็เป็นการหลบหลีกภาษีที่ไม่ผิดกฎหมาย เพราะตามแนวปฏิบัติของกรม สรรพากร หากผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยไม่นำเงินได้ที่ได้รับจากการทำงาน หรือประกอบธุรกิจในต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีเดียวกับ ที่ได้รับเงินได้นั้น กรมสรรพากรก็ไม่เก็บภาษี (หนังสือกรมสรรพากร ที่ กค 0802/696 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2530)
คำแนะนำ 6 ประการ
1. ผู้วางแผนควรจะรู้ว่ามีเงิน ได้ ทรัพย์สิน หรือธุรกรรมอะไรบ้างที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการยกเว้นภาษี นั้นอาจเป็นการยกเว้นโดย พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงก็ได้นอกจากนี้อาจเป็นการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี การยกเว้นภาษีนั้นอาจจะเป็นการยก เว้นโดยพระราชบัญญัติ พระราช กฤษฎีกา หรือกฎกระทรวงก็ได้ นอกจากนี้อาจจะเป็นการยกเว้นโดยอนุสัญญาภาษีซ้อน ( Double Taxation Agreement) ซึ่งประเทศไทยได้ทำไว้กับประเทศ ต่าง ๆ รวม 40 ประเทศก็ได้
2. องค์กรธุรกิจเหล่านี้ กิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด กิจการร่วมค้า ( Joint venture) และกลุ่มบริษัท ( Consortium)ผู้วางแผนควรจะรู้ว่าองค์กรธุรกิจใดเสียภาษีมากน้อยแตกต่างกัน อย่างไร เพื่อที่จะช่วยให้ตัดสินใจเลือกองค์กรธุรกิจที่เหมาะสมแก่การประกอบการได้ ถูกต้อง
3. ผู้วางแผนควรจะรู้รายละเอียด ของภาษีแต่ละประเภท ตัวอย่างเช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้วางแผนควรจะรู้ว่าผู้ใดเป็นผู้มีหน้าที่เสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคล เสียจากเงินได้อะไร ? เสียในอัตราเท่าใด ? ถ้ามีข้อพิพาทเกิดขึ้นจะมีวิธีการในการหาข้อยุติอย่างไร ?
4. ผู้วางแผนควรจะรู้ว่าสัญญา แต่ละประเภทมีภาระภาษีอย่างไร ? ไม่ว่าจะเป็นสัญญาซื้อขายสัญญาจ้างทำของ สัญญาเหมาเบ็ดเสร็จ (Turnkey contract) สัญญาให้เช่าช่วยเหลือทางเทคนิค ( Technical Assisstance Agreement) สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ ( Licensing Agreement) สัญญาร่วมค้า ( Joint Agreement) สัญญากลุ่มบริษัท ( Consortium Contract) และควรจะรู้ต่อไปว่าคู่สัญญาฝ่ายใดเป็น ผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีและหักภาษี ณ ที่จ่าย นอกจากนี้ควรจะรู้ว่ามีสัญญาอะไรบ้างที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีหรือได้ รับการลดภาษี
5. ผู้วางแผนควรจะรู้บัญชีภาษีอากร ( Tax Accounting ) เพราะในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มต้องใช้บัญชีภาษีอากร จะใช้รับบัญชีการ เงิน ( FinancialAccounting)ไม่ได้บัญชีภาษีอากรเป็นบัญชีที่กำหนดโดยภาษีอากรเช่น ประมวลรัษฎากรต่างจากบัญชีการเงินฉะนั้นกำไรหรือขาดทุนที่ปรากฏ อยู่ในงบกำไรขาดทุนซึ่งทำขึ้นตามหลักบัญชีการเงินจึงยังใช้เสียภาษีไม่ได้ ต้องมีการปรับปรุง(Adust)ให้เป็นไปตามหลักบัญชีภาษีอากรซึ่งบัญญัติไว้ใน ประมวล
รัษฎากร มาตรา 65, 65 ทวิ และ 65 ตรี
6. ผู้เสียภาษีควรจะทำบัญชีและ เก็บรักษาบัญชีพร้อมเอกสารประกอบการลงบัญชีตามที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้นอาจได้รับโทษทางอาญา และต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น เช่น เจ้าพนักงานประเมินอาจจะใช้อำนาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71 (1) แม้บริษัทผู้เสียภาษี จะขาดทุนก็ตาม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : คุณชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น